ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU

การจัดทําฐานขอมูลและสื่อสารสาธารณะในการอนุรักษทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดลอมริมลําน้ำชีของชุมชนบานเสม็ด

Show simple item record

dc.contributor.author พิชิต วันดี, และคณะ
dc.date.accessioned 2017-09-22T04:43:02Z
dc.date.available 2017-09-22T04:43:02Z
dc.date.issued 2016
dc.identifier.citation โครงการวิจัยนี้ไดรับการสนับสนุนจากสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย en_US
dc.identifier.uri http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/2256
dc.description.abstract การวิจัยครังนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาบริบทชุมชน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมริมลำน้ำชี 2) เพื่อจัดทำฐานข้อมูลและสื่อสารสาธารณะ ในการอนุรักษ์.ทรัพยากรธรรมชาติและสิงแวดล้อมริมลำน้ำชี 3) เพื่อประเมินผลการใช้งานฐานข้อมูลและสื่อสารสาธารณะในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมริมลำน้ำชี กลุ่มตัวอย่างทีใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) นักวิจัยท้องถิ่นซึ่งเป็นผู้แทนจากคนในชุมชนบ้านเสม็ด ทั้งนี้นักวิจัยท้องถิ่น ได้แก่ ผู้นำชุมชน ชาวบ้าน พระสงฆ์ ครู นักศึกษา นักเรียน และ 2) ประชากรที เป็นผู้เข้าร่วมกิจกรรมและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับกิจกรรม โดยเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยไม่อาศัยannunatiu (Non Probabilistic Sampling) ได้กลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (PurposiveSampling) จำนวน 30 คน เครืองมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) แบบสำรวจข้อมูลพื้นฐานของชุมชน และทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมริมลำน้ำชี 2) ประเด็นการสนทนากลุ่ม (Focus Group) ร่วมกับชุมชนเพื่อศึกษาสภาพ ความต้องการสื่อสารสาธารณะ แนวทางการพัฒนาฐานข้อมูลและสื่อสารสาธารณะ 3) ฐานข้อมูลทรัพยากรธรรมชาติและสิงแวดล้อมริมลำน้ำชี ของชุมชนบ้านเสม็ด 4) สื่อสารสาธารณะในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมริมลำน้ำชี 5) แบบประเมินคุณภาพฐานข้อมูล และสื่อสารสาธารณะ และ 6) แบบประเมินความพึงพอใจทีมีต่อฐานข้อมูลและสื่อสารสาธารณะ ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพชุมชนบ้านเสม็ดที่อยู่ติดริมลำน้ำชีมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับวิถีชีวิต เป็นแหล่งอาหารและทรัพยากรที่สำคัญของชุมชนโดยมีผืนป่าแบ่งออกเป็น 3 โซน ได้แก่ โซน A เป็นพื้นที่มีความอุดมสมบูรณ์มีลักษณะพันธุ์ไม้พุ่มสลับกับไม้ยืนต้น และมีหนองน้ำ 3 แหล่ง เช่น หนองบัว หนองแสง และหนองตลิ่งหัก โดยชาวบ้านใช้เป็นแหล่งอาหาร พื้นที่โซน B เป็นพื้นที่ส่วนบริเวณตรงกลางผืนป่า มีลักษณะเป็นพื้นที่ลุ่มมีน้ำท่วมในช่วงฤดูน้ำหลาก ส่งผลให้มีความอุดมสมบูรณ์จากธาตุอาหารที่มากับสายน้ำ พื้นที่ดังกล่าวเป็นแหล่งหามันป่า หน่อไม้ เห็ดป่า และดักสัตว์ เป็นต้น และพื้นที่โซน C เป็นพื้นที่ติดกับแนวป่าบ้านมะระ ลักษณะเป็นไม้ยืนต้นสูงใหญ่ปกคลุมไปทั่วบริเวณ และเป็นพื้นที่อนุรักษ์ไม่พันธุ์ต่าง ๆ เช่น ไม้เต็ง ไม้พลวง ไม้กระโดน 2) การพัฒนาฐานข้อมูลทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมริมน้ำชีประกอบด้วยข้อมูลป่าไม้ สัตว์น้ำ แมลง ในพื้นที่ป่าจำนวน 5541.74 ไร่ โดยจัดทำเป็นเว็บไซต์นำเสนอข้อมูล และพัฒนาสื่อสารสาธารณะในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมริมลำน้ำชี ประกอบด้วยฐานเรียนรู้ทั้ง 5 ฐาน ได้แก่ ฐาน1 การเรียนรู้ธรรมะกับการดูแลรักษาป่า ฐานที่2 ต้นไม้นานาพันธุ์ ฐานที่3 เรียนรู้มันป่า ฐานที่4 ฐานการเรียนรู้เห็ดป่า และ ฐานที่5 ฐานนิเวศป่าชุมชนริมลำน้ำชี 3) ผลการประเมินคุณภาพฐานข้อมูลและสื่อสารสาธารณะพบว่า ฐานข้อมูลทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมริมลำน้ำชี มีคุณภาพอยู่ในระดับมาก (x = 4.22, S.D. = 0.99) และสื่อสาธารณะที่พัฒนาขึ้นผ่านการประเมินคุณภาพโดยผู้เชี่ยวชาญ มีคุณภาพรวมในระดับมาก (x = 4.21, S.D. = 0.52) ส่วนความพึงพอใจของผู้ใช้งานฐานข้อมูล อยู่ในระดับมาก (x = 4.12, S.D. = 0.71) และสื่อสารสาธารณะพบว่า มีความพึงพอใจรวมอยู่ในระดับมาก (x = 3.80, S.D. = 0.83) en_US
dc.description.sponsorship Buriram Rajabhat University en_US
dc.publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ en_US
dc.subject สื่อสารสาธารณะในการอนุรักษทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดลอม en_US
dc.title การจัดทําฐานขอมูลและสื่อสารสาธารณะในการอนุรักษทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดลอมริมลําน้ำชีของชุมชนบานเสม็ด en_US
dc.title.alternative Development of Database System and Public Broadcasting Services off Protect Resources and Environment for Baan Samed en_US
dc.type Research en_US
dc.contributor.emailauthor pichit.wd@bru.ac.th en_US


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics