ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU

การศึกษาการพัฒนาการประกอบอาชีพเลี้ยงโคขุนของเกษตรกร ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง โดยการใช้การจัดการความรู้ ในเขตพื้นที่จังหวัดบุรีรัมย์

Show simple item record

dc.contributor.author จรัส, สว่างทัพ
dc.date.accessioned 2017-12-02T12:51:07Z
dc.date.available 2017-12-02T12:51:07Z
dc.date.issued 2549
dc.identifier.uri http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/3393
dc.description.abstract การศึกษาการพัฒนาการประกอบอาชีพเลี้ยงโคขุนของเกษตรกร ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงโดยการใช้การจัดการความรู้ ในเขตพื้นที่จังหวัดบุรีรัมย ์ เป็นการศึกษาเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาสภาพการเลี้ยงโคเนื้อของกลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงโคเนื้อในจังหวัดบุรีรัมย์ 2) เพื่อพัฒนาศักยภาพการประกอบอาชีพเลี้ยงโคเนื้อตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงโดยวิธีการจัดการ ความรู้ 3) เพื่อศึกษาการพัฒนาการของการประกอบอาชีพการเลี้ยงโคเนื้อตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงโดยใช้ดัชนีชี้วัดในเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ เกษตรกรสมาชิกกลุ่มผู้เลี้ยงโคเนื้อ บ้านสี่เหลี่ยมเจริญ หมู่ที่ 10 ตำบลแสลงพัน อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ จำนวน 12 ราย เกษตรกรสมาชิกกลุ่ม ผู้เลี้ยงโคเนื้อ บ้านโนนสว่าง หมู่ที่ 12 ตำบลด้านด่าน อำเภอบ้านด่าน จังหวัดบุรีรัมย์ จำนวน 24 ราย บ้านหนองตะเคียน หมู่ที่ 12 ตำบลบ้านกรวด อำเภอบ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์ จำนวน 29 ราย เกษตรกรสมาชิกกลุ่มผู้เลี้ยงโคเนื้อ และเกษตรกรสมาชิกกลุ่มผู้เลี้ยงโคเนื้อ บ้านสองห้อง หมู่ที่ 1 ตำบลสองห้อง อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ จำนวน 17 ราย รวมทั้งสิ้น 82 ราย เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือวิจัยที่ใช้ คือ แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง แบบสอบถาม แบบตรวจสอบรายการ การสังเกต การอภิปรายกลุ่มและการจัดการความรู้ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติเชิงพรรณนา และข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหาและการใช้แผนที่ความคิด ผลการศึกษา พบว่ากลุ่ม ผู้เลี้ยงโค มีจำนวนสมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 5 คน มีจำนวน สมาชิกในครัวเรือน ที่ใช้แรงงานเฉลี่ย 3 คน ประกอบทำนาทำไร่เป็นอาชีพหลักและเป็นอาชีพหลักที่ทำรายได้สูงสุด เลี้ยงโคเป็นอาชีพรองอันดับหนึ่ง และรับจ้างเป็นอาชีพรองอันดับสอง มีรายได้ต่อเดือนต่อครัวเรือนเฉลี่ย 12,600 บาท มีรายได้จากการเลี้ยงโคเนื้อต่อปีเฉลี่ย 15,012.20 บาท เพิ่มจำนวนโคโดยการผสมเทียม เกษตรกรทุกคนรู้จักการสังเกตสัดแม่โค เกษตรกรส่วนใหญ่ร้อยละ 60 ไม่ปัญหาที่ประสบจากการได้ลูกที่เกิดจากการผสมเทียม ส่วนน้อยที่พบว่าลูกที่เกิดมาได้แต่ลูกเพศผู้และแม่โคคลอดลูกยาก ลูกโคส่วนใหญ่ร้อยละ 60 ที่ได้มีความแตกต่างจากเดิมโดยมีขนาดใหญ่กว่ามีสายเลือดชาโรเลส์ ปัญหาการผสมเทียมส่วนใหญ่ร้อยละ 72 มีปัญหาการผสมติดยาก ผสมซ้ำ จำนวนเฉลี่ย 3 ครั้งจึงจะผสมติด เกษตรกรสมาชิก ร้อยละ 69.5 ไม่ให้อาหารข้นแก่โค แหล่งน้ำของโคได้จากแหล่งน้ำธรรมชาติ เกษตรกรสมาชิกร้อยละ 62.2 ไม่ให้อาหารแร่ธาตุแก่โค เกษตรกรสมาชิกให้วัคซีนป้องกันโรคปากและเท้าเปื่อย ให้ยาถ่ายพยาธิไอเวอร์เม็ก-เอฟ และพ่นยาเห็บด้วยยาอาซุนโทล ใช้สมุนไพรบางชนิด เช่น สมุนไพรรักษาแผล กีบ-เท้าเป็นแผล สมุนไพรถ่ายพยาธิ สมุนไพรรักษา ท้องอืด เป็นต้น และฉีดไวตามินและยาบำรุงหรือยาเพิ่มประสิทธิภาพสมบูรณ์พันธุ์ en_US
dc.language.iso th_TH en_US
dc.publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ en_US
dc.subject ลี้ยงโคขุน,กษตรกร,เศรษฐกิจพอเพียง en_US
dc.title การศึกษาการพัฒนาการประกอบอาชีพเลี้ยงโคขุนของเกษตรกร ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง โดยการใช้การจัดการความรู้ ในเขตพื้นที่จังหวัดบุรีรัมย์ en_US
dc.title.alternative Study on the Development of Farmer’s Beef Fattening Cattle Raising Career on Sufficiency Economy management by Knowledge Management Procedure in Buriram Province. en_US
dc.type Research en_US


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics