ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU

โครงการราชภัฎมหาวิทยาลัยพลังแห่งแผ่นดินสร้างแผนดินให้เป็นพลังโดยใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

Show simple item record

dc.contributor.author คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม en_US
dc.contributor.author เชาวลิต สิมสวย en_US
dc.date.accessioned 2019-06-18T04:10:19Z
dc.date.available 2019-06-18T04:10:19Z
dc.identifier.uri http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/4819
dc.description บทสรุปสำหรับผู้บริหาร พื้นที่จังหวัดบุรีรัมย์มีพื้นที่ทั้งหมด 6,451,178.125 ไร่ แบ่งออกเป็น 1) พื้นที่ถือครองทำการเกษตร 3,873,378 ไร่ ประกอบด้วย พื้นที่ทำนา 3,173,450 ไร่ พื้นที่ปลูกพืชไร่ 456,256 ไร่ พื้นที่ปลูกพืชผัก 9,624 ไร่ พื้นที่ปลูกไม้ผลไม้ยืนต้น 89,171 ไร่ ที่ปศุสัตว์ 4,199 ไร่ 2) ที่รกร้างว่างเปล่า 64,244 ไร่ 3) พื้นที่ป่าไม้ 331,250 ไร่ 4) พื้นที่อื่นๆรวม 2,248,268 ไร่ (สำนักงานเกษตรจังหวัดบุรีรัมย์,2560) มีพื้นที่ชลประทานเพียงร้อยละ 5 ของพื้นที่ทั้งหมด นั่นหมายความว่าพื้นที่ร้อยละ 95 ของจังหวัดบุรีรัมย์อยู่นอกเขตชลประทาน (ชลประทานจังหวัดบุรีรัมย์,2559) ดังนั้นประชาชนชาวบุรีรัมย์จึงต้องหันมาพึ่งตนเอง 3 ด้านคือ 1.ด้านการจัดหาน้ำต้นทุนโดยเน้นการเพิ่มปริมาณน้ำต้นทุน ด้วยการอนุรักษ์ป่าต้นน้ำ การอนุรักษ์ และฟื้นฟูแหล่งน้ำ 2.ด้านการจัดการความต้องการของกลุ่มผู้ใช้น้ำ โดยการปรับลดความต้องการด้วยการปรับรูปแบบประเภทของพืชเพื่อลดปริมาณการใช้น้ำและเพิ่มรายได้ให้แก่เกษตรกร และ 3.ด้านการบริหารจัดการโครงการ ของกลุ่มผู้ใช้น้ำรายย่อย เน้นเรื่องการปรับรูปแบบการบริหารจัดการ ด้วยการบริหารจัดการโดยเกษตรกรในพื้นที่ผ่านกระบวนการจัดตั้งองค์กรน้ำบริหารจัดการน้ำ การเสริมศักยภาพองค์กรเพื่อรองรับการบริหารจัดการน้ำระบบใหม่ การจัดตั้งกองทุนน้ำ รวมทั้งการทำ Contract Farming ร่วมกับรัฐท้องถิ่น จากแบบแผนการบริหารจัดการน้ำในเบื้องต้น ถ้าหากไม่มีกระบวนการจัดเก็บข้อมูลการบริหารจัดการน้ำของรูปแบบการใช้น้ำตามแบบแผนดังเดิมนี้ไว้อย่างเป็นระบบ ก็จะทำให้การไม่เกิดการเรียนรู้หรือถ่ายทอดไปสู่เยาวชนรุ่นหลัง เมื่อเวลาผ่านไปก็จะค่อยๆเลือนหายไปตามเวลา จากช่องว่างที่หน่วยงานกำกับดูแลด้านทรัพยากรน้ำในพื้นที่ไม่ทั่วถึงจึงทำให้มหาวิทยาลัยจึงต้องเร่งดำเนินการหาทางเข้าไปหนุนเสริมการทำงานภาคประชาชนที่ดำเนินการอยู่แล้วทั้งระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาวให้ดียิ่งขึ้น เนื่องจากเป็นจังหวัดที่มีฐานรายได้หลักมาจากภาคการเกษตร โดยเฉพาะด้านการบริหารจัดการน้ำชุมชนนอกเขตชลประทาน เพื่อให้เกิดกลุ่มบริหารจัดการน้ำที่มีความเข้มแข็งสามารถวางแผนการพัฒนาแหล่งน้ำของตนเองได้ และสามารถบริหารจัดการน้ำให้สามารถใช้ได้ตลอดทั้งปีโดยไม่เดือดร้อน en_US
dc.language.iso th_TH en_US
dc.publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ en_US
dc.subject พลังแห่งแผ่นดิน en_US
dc.subject สร้างแผนดินให้เป็นพลัง en_US
dc.subject หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง en_US
dc.title โครงการราชภัฎมหาวิทยาลัยพลังแห่งแผ่นดินสร้างแผนดินให้เป็นพลังโดยใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง en_US
dc.type Academic document en_US


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics