ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU

การจัดการความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นการปลูกข้าวพื้นเมืองบ้านลิ่มทอง ตำบลหนองโบสถ์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์

Show simple item record

dc.contributor.author ปะติตังโข, กิ่งแก้ว
dc.date.accessioned 2019-09-10T12:14:05Z
dc.date.available 2019-09-10T12:14:05Z
dc.date.issued 2560
dc.identifier.uri http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/5586
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบริบทชุมชน กระบวนการเรียนรู้ การถ่ายทอดความรู้การปลูกข้าวพื้นเมือง และเพื่อศึกษาแนวทางการจัดการความรู้และรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น การปลูกข้าวพื้นเมืองของชุมชนบ้านลิ่มทอง ตำบลหนองโบสถ์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวิธีดำเนินการวิจัยโดยการเข้าไปศึกษาในชุมชน การเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก การสนทนากลุ่ม การสังเกตแบบมีส่วนร่วมและไม่มีส่วนร่วม จากนั้นนำข้อมูลมาวิเคราะห์โดยการรวบรวมและจัดกลุ่มข้อมูลตามประเด็นสำคัญ เพื่อหาภาพองค์รวมของข้อมูล แล้วใช้การพรรณนาเชิงเนื้อหาและเปรียบเทียบเชื่อมโยงความสัมพันธ์ของข้อมูล ผลการวิจัย พบว่า 1. บริบทชุมชน กลุ่มเกษตรอินทรีย์บ้านลิ่มทองมีการรวมกลุ่มกันปลูกข้าวอินทรีย์จำนวน 19 ครัวเรือน ปลูกข้าวพันธุ์ดีและข้าวพันธุ์พื้นเมือง ได้แก่ ข้าวหอมมะลิขาว ข้าวมะลิแดง ข้าวหอมนิล ข้าวจิ๊บ ซึ่งมีผู้ปลูกข้าวจิ๊บ 5 ครัวเรือน รวมจำนวน 57 ไร่ เพื่อบริโภคในครัวเรือนและจำหน่ายในราคาสูงกว่าข้าวหอมมะลิขาว จึงทำให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวจิ๊บมีรายได้เพิ่มมากขึ้น 2. กระบวนการเรียนรู้การปลูกข้าวพื้นเมือง กระบวนการเรียนรู้การปลูกข้าวพื้นเมือง เริ่มจากเกิดมาก็เห็นพ่อแม่ปลูกข้าว พื้นเมือง ต่อมามีการจัดการอบรมการปลูกข้าวพื้นเมืองหลักสูตร 4 วัน เริ่มจาก การเตรียมเมล็ด การเตรียมดิน การปลูกข้าวพื้นเมือง การปลูกข้าวพื้นเมืองโดยวิธีการดำต้นกล้า การวางรวงและปลูกข้าวต้นเดียว การกำจัดวัชพืช การใส่ปุ๋ยอินทรีย์บำรุงดินและต้นข้าว การบริหารน้ำเข้านาการป้องกันกำจัดสัตว์ศัตรูข้าว การตัดข้าวปน การเก็บเกี่ยวพันธุ์ข้าว และการแปรรูปข้าวพื้นเมือง 3. การถ่ายทอดความรู้การปลูกข้าวพื้นเมืองชุมชนบ้านลิ่มทอง ตำบลหนองโบสถ์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ 3.1 การถ่ายทอดความรู้การปลูกข้าวพื้นเมือง มีการถ่ายทอดจากปู่ย่า ตายาย และมีการถ่ายทอดให้กลุ่มชาวบ้านและกลุ่มเยาวชนเป็นหลักสูตรอบรม 4 วัน ทฤษฎี 2 วัน ลงแปลงปฏิบัติ 2 วัน 3.2 รูปแบบการถ่ายทอดความรู้การปลูกข้าวพื้นเมืองให้กับบุคคลทั่วไป คือ การไปร่วมจัดนิทรรศการการการปลูกข้าวพื้นเมืองในสถานที่ต่างๆ การจัดอบรมให้กับผู้ที่มาขอความร่วมมือ เช่น นักศึกษา เกษตรกรอื่นๆ เป็นต้น การบอกเล่าสู่การปฏิบัติ และการจัดทำเอกสารแนะนำกลุ่ม มีแผ่นพับแนะนำกลุ่ม และแนะนำผลิตภัณฑ์การปลูกข้าวจิ๊บ 3.3 แนวทางการพัฒนาการถ่ายทอดความรู้การปลูกข้าวพื้นเมือง กลุ่มเกษตรอินทรีย์บ้านลิ่มทอง นำโดยนางสนิท ทิพย์นางรอง มีความต้องการพัฒนาวิธีการถ่ายทอดการปลูกข้าวพื้นเมืองโดยการจัดทำเป็น PowerPoint จัดทำเป็นการ์ตูนสำหรับเด็ก จัดทำเป็นวีดิโอ สำหรับผู้ใหญ่ และเป็นแปลงสาธิตถาวร 4. แนวทางการจัดการความรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่นการปลูกข้าวพื้นเมืองของชุมชนบ้านลิ่มทอง ตำบลหนองโบสถ์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ เพื่อเป็นการอนุรักษ์พันธุ์ข้าวที่มีคุณค่าและมีคุณประโยชน์อย่างมหาศาล ชุมชนบ้านลิ่มทองต้องการ (1) จัดทำพิพิธภัณฑ์ข้าวพื้นเมืองไว้ที่ศูนย์นวัตกรรมการเรียนรู้เฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษาชุมชนบ้านลิ่มทอง เพื่อให้คนในท้องถิ่น และบุคคลทั่วไปได้ศึกษา และ (2) จัดทำ Website ของศูนย์นวัตกรรมการเรียนรู้เฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษาชุมชนบ้านลิ่มทอง เพื่อต้องการเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับข้าวพื้นเมืองต่อไป en_US
dc.description.sponsorship BURIRAM RAJABHAT UNIVERSITY en_US
dc.publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ en_US
dc.subject การจัดการความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นการปลูกข้าวพื้นเมืองบ้านลิ่มทอง ตำบลหนองโบสถ์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ en_US
dc.title การจัดการความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นการปลูกข้าวพื้นเมืองบ้านลิ่มทอง ตำบลหนองโบสถ์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ en_US
dc.title.alternative Knowledge Management of Local Wisdom for Planting Rice Landraces in Ban Limtong, Tambol Nongbod Amphur Nangrong, Buriram Province en_US
dc.type Research en_US
dc.contributor.emailauthor Kingkaew.pt@bru.ac.th en_US


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics