ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU

การประยุกต์ใช้นวัตกรรมที่เหมาะสมกับวิถีชีวิตชุมชนในการจัดการระบบเกษตรเพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหารของชุมชนบ้านคูขาด ตำบลสตึก อำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์

Show simple item record

dc.contributor.author วันดี, พิชิต
dc.contributor.author ศรีสง่า, พรศรี
dc.contributor.author ทาหอม, อุทิศ
dc.contributor.author ธุระตา, สำราญ
dc.date.accessioned 2019-09-10T18:53:57Z
dc.date.available 2019-09-10T18:53:57Z
dc.date.issued 2016-09-30
dc.identifier.uri http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/5603
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสถานการณ์ปัญหาการจัดการระบบเกษตรของชุมชนบ้านคูขาด ตำบลสตึก อำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์ 2) เพื่อวิเคราะห์และค้นหา ภูมิปัญญา พัฒนาแนวทางการประยุกต์ใช้นวัตกรรมที่เหมาะสมกับชุมชนบ้านคูขาด ตำบลสตึก อำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์ 3) เพื่อพัฒนารูปแบบนวัตกรรมท้องถิ่นที่เหมาะสมในการสร้างความมั่นคงทางอาหารของชุมชนบ้านคูขาด ตำบลสตึก อำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์ โดยใช้กระบวนการวิจัยเพื่อท้องถิ่นเน้นการมีส่วนร่วม ซึ่งทำการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยวิธีการสัมภาษณ์เจาะลึก การสนทนากลุ่ม การจัดเวทีวิเคราะห์ปัญหา การสังเกตแบบมีส่วนร่วมและไม่มีส่วนร่วม การเดินสำรวจ และการศึกษาจากเอกสารต่างๆ รวมทั้งการสืบค้นจากแหล่งสืบค้นข้อมูล ผลการวิจัยพบว่า ชุมชนมีการจัดการระบบเกษตรเป็น 2 ส่วนคือ การเพาะปลูกในระดับแปลงนา และในระดับครัวเรือนโดยใช้พื้นที่ที่มีอย่างจำกัดในการเพาะปลูก นอกจากนั้นชาวบ้านประสบปัญหาระบบนิเวศจากพื้นที่รอบชุมชนเนื่องจากส่วนใหญ่มีการปลูกพืชเชิงเศรษฐกิจ ทำให้มีการใช้สารกำจัดศัตรูพืช ปุ๋ยเคมี จึงส่งผลกระทบโดยตรงสุขภาพต่อประชาชนและทำให้มีต้นทุนในการผลิตสูง ชาวบ้านมีการรวมกลุ่มในการดำเนินกิจกรรมเพื่อสร้างรายได้ ชุมชนไม่มีรูปแบบการผันน้ำจากหนองคูขาดขึ้นมาใช้อย่างมีประสิทธิภาพ จากที่ผ่านมาเคยมีหน่วยงานรัฐให้การสนับสนุนแต่ยังขาดความต่อเนื่องและไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างยั่งยืน จึงเกิดแผนปฏิบัติการเพื่อเป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหาทั้ง 3 แผนงาน ได้แก่ 1. แผนการจัดการความรู้ด้านการเกษตร ประกอบด้วย กิจกรรมแผนงานพัฒนาศักยภาพด้านการเกษตร ในการเพาะปลูก จัดให้มีการอบรมหลักสูตรในการทำปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพ หลักสูตรสารไล่แมลงชีวภาพ หลักสูตรปุ๋ยหมักไม่กลับกอง และกิจกรรมพัฒนาศักยภาพด้านการประมงโดยฝึกอบรมการเพาะเลี้ยงกบ ปลา และผลิตอาหารไว้เลี้ยงเองจากวัตถุดิบที่มีในชุมชน 2. แผนการจัดการน้ำ ประกอบด้วยการทดลองผันน้ำเพื่อใช้ในการเกษตรของชุมชนด้วยระบบกาลักน้ำ ดำเนินการสำรวจและวิเคราะห์ข้อมูลโดยอาศัยหลักการบริหารจัดการน้ำโดยกระจายในระดับชุมชนเช่นเดียวกับหลักการกระจายสัญญาณของข้อมูล พร้อมทำการออกแบบแผนผังสถานีส่งน้ำในชุมชนทั้ง 7 สถานีรวมเป็นระยะทางทั้งสิ้น 1,248 เมตร 3. แผนกลไกในการจัดการระบบเกษตร ประกอบด้วย การตั้งกฎ กติกา จัดตั้งคณะกรรมการ จัดตั้งกองทุนธนาคารเพื่อการจัดการน้ำของชุมชน และจัดทำคู่มือหลักสูตรการเรียนรู้ศักยภาพในการจัดการเกษตรของชุมชน en_US
dc.description.abstract The objectives of this research were 1) to study the problems of the community agricultural system management in Ban Khu Khat, Satuk subdistrict, Satuk district, Buriram province, 2) to analyze and search for wisdom to develop innovative applications that is suitable to Ban Khu Khat, Satuk subdistrict, Satuk district, Buriram province, and 3) to develop local innovative model to create the right food security of Ban Khu Khat, Satuk subdistrict, Satuk district Buriram province. The research used the research process for local area. The data was collected by in-depth interviews, group discussion, problem analysis stage, participant and non-participant observation, exploration, and document study, including retrieving data from query data sources. The results showed that the community had divided the community agricultural system management into 2 parts: the crop in the field and at the household level, using a limited area of ​​cultivation. Moreover, the villagers suffered the ecology of the area around the community since most of the crops were economical types. The use of pesticides, chemical fertilizers had a direct impact on public health and the cost of production was high. The locals were participating in activities to generate income. The community did not have forms of water diversion from Nong Khuk Khat to more effectively use. In the past, the government organizations supported the system, but it lacked of continuity and this problem was not resolved sustainably. Therefore, there was an action plan to guide troubleshooting which consisted of three plans: 1. management plan for knowledge of agriculture included the development of agricultural potential in cultivation, organize a training course for making bio-fermented fertilizer, bio Insect pesticide, non-compost pile fertilizer, and improvement of the fishery potential by training to raise frogs and fish as well as production of food for animals using raw materials in the community. 2. water management plan consisted of a water diversion experiment for community agriculture with a siphon system. The researchers conducted the survey and analyzed the data based on the management of water distribution at the community level similar to the principle of information distribution. Then the researchers designed 7 community water stations. The total distance was 1,248 meters. 3. agricultural systems mechanical plan included a set of rules, covenant, committee, bank funds for community water management, and a preparation instruction course for learning the agricultural management potential in the community. en_US
dc.description.sponsorship สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว) และ สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ en_US
dc.language.iso th_TH en_US
dc.publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ en_US
dc.subject นวัตกรรมท้องถิ่น ระบบเกษตร วิถีชีวิตชุมชน The local innovation, agricultural system, community way of life. en_US
dc.title การประยุกต์ใช้นวัตกรรมที่เหมาะสมกับวิถีชีวิตชุมชนในการจัดการระบบเกษตรเพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหารของชุมชนบ้านคูขาด ตำบลสตึก อำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์ en_US
dc.title.alternative Application of Suitable Innovation for Management Agricultural System of Baan Khukad Stuek District Buriram Provicne en_US
dc.type Research en_US
dc.contributor.emailauthor pichit.wd@bru.ac.th en_US


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics