ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU

การสร้างลวดลายอัตลักษณ์กลุ่มชาติพันธุ์เขมรเพื่อพัฒนาเป็นสินค้าระดับพรีเมี่ยมของหมู่บ้าน ท่องเที่ยวไหม บ้านสนวนนอก อําเภอห้วยราช จังหวัดบุรีรัมย์

Show simple item record

dc.contributor.author ยาทองไชย, ชูศักดิ์
dc.contributor.author ยาทองไชย, วิไลรัตน์
dc.contributor.author ชัยโชติอนันต์, จารุณี
dc.contributor.author ราชประโคน, พวงเพชร
dc.contributor.author กลองชัย, อริยพล
dc.date.accessioned 2020-03-23T08:18:05Z
dc.date.available 2020-03-23T08:18:05Z
dc.date.issued 2019-11-17
dc.identifier.uri http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/6075
dc.description.abstract การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษา วิเคราะห์ ออกแบบ และสร้างอัตลักษณ์ของลวดลายบนผ้าทอมือของกลุ่มชาติพันธุ์เขมรในพื้นที่จังหวัดบุรีรัมย์ 2) จัดท าผ้าต้นแบบตัวอย่างที่เป็น อัตลักษณ์ของกลุ่มชาติพันธุ์เขมรในพื้นที่จังหวัดบุรีรัมย์ และประชาสัมพันธ์ให้เป็นที่รู้จักเพื่อยกระดับเป็นสินค้าระดับพรีเมี่ยม และ 3) วิเคราะห์ ออกแบบ และพัฒนาระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ส าหรับการซื้อขายผ้าที่เป็นอัตลักษณ์ของกลุ่มชาติพันธุ์เขมร โดยมีวิธีด าเนินการวิจัย คือ ก าหนดปัญหาและความต้องการสินค้าพรีเมี่ยม ค้นหาอัตลักษณ์ชุมชนสู่อัตลักษณ์ผลิตภัณฑ์ ออกแบบลวดลายผลิตภัณฑ์ ผลิตต้นแบบผลิตภัณฑ์ ประเมินผล ประชาสัมพันธ์ต้นแบบผลิตภัณฑ์จากนั้นท าการออกแบบและพัฒนาระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์โดยมีกลุ่มตัวอย่างในการศึกษา จ านวน 44 คน จาก 5 กลุ่ม คือ 1) ช่างทอ กลุ่มชาติพันธุ์เขมร 2) ผู้เชี่ยวชาญด้านผ้าทอ 3) นักพัฒนาชุมชน 4) เจ้าของร้านค้าผ้าพื้นบ้าน และ 5) กรรมการหมู่บ้าน และสมาชิกกลุ่มทอผ้า โดยมีวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลจากการสนทนากลุ่ม การ สัมภาษณ์ และการสอบถาม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบบันทึกข้อมูลเชิงคุณภาพ แบบสัมภาษณ์ โปรแกรมออกแบบลวดลายผ้า และแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการ วิจัยคือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า - การสร้างลวดลายอัตลักษณ์ส าหรับผ้าทอมือกลุ่มชาติพันธุ์เขมรให้เป็นสินค้าพรีเมี่ยม มีการ ก าหนดขอบข่ายใน 3 ส่วน คือ 1) สีสัน (Color) ให้ตัดกันแต่ให้อยู่ในสไตล์ขรึมเรียบหรู 2) รูปทรง (Form) ต้องเป็นลวดลายเล็กละเอียดในโครงสร้างใหญ่ และ 3) เนื้อผ้าและผิวสัมผัส (Texture) ต้อง เรียบเนียน มันวาว ท าให้ได้ลวดลายส าหรับผ้าทั้งหมด 5 ประเภท คือ 1) ผ้าหางกระรอก (ผ้าพื้น) 2) ผ้าโสร่ง (ผ้าตาราง) 3) ซิ่นหมี่โฮล (ผ้าลาย) 4) ผ้าสไบเจือยย (ผ้าขาวม้ายกขิดที่ชาย) และ 5) สไบฉนู้ด(ผ้ายกดอก) น าไปทอเป็นผ้าต้นแบบ จ านวน 11 ลาย - ระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์การจัดจ าหน่ายผ้าอัตลักษณ์ของกลุ่มชาติพันธุ์เขมร เป็นเว็บ แอปพลิเคชันที่ใช้แบบจ าลองฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ด้วยระบบบริหารฐานข้อมูลมายเอสคิวแอล มีการ ท างาน 2 ส่วนคือ ส่วนที่ 1 เป็นส่วนบริการลูกค้า มีฟังก์ชันหลักในการท างาน ได้แก่ แสดงข้อมูลอัต ลักษณ์ผ้าทอกลุ่มชาติพันธุ์เขมร แค็ตตาล็อกสินค้า และตะกร้าซื้อสินค้า ส่วน 2 ส่วนบริการผู้บริหาร ระบบ ได้แก่ การจัดการสินค้าและประเภทสินค้า และการจัดการการสั่งซื้อ ในการศึกษาความพึงพอใจ ในการใช้งานระบบใน 3 ด้าน คือ ด้านเนื้อหาของเว็บไซต์ ด้านการออกแบบเว็บไซต์ และด้าน กระบวนการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์มีผลการประเมินอยู่ในระดับมาก en_US
dc.description.sponsorship เครือข่ายอุดมศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง en_US
dc.language.iso th_TH en_US
dc.publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ en_US
dc.relation.ispartofseries ศูนย์กลางนวัตกรรมด้านเศรษฐกิจสร้างสรรค์ภายใต้โคงการ Innovation Hubs เพื่อสร้างเศรษฐกิจฐานนวัตกรรมของประเทศตามนโยบายประเทศไทย 4.0 (รอบที่ 2);CH 2-15/2560
dc.subject ลวดลายอัตลักษณ์ กลุ่มชาติพันธุ์เขมร สินค้าระดับพรีเมี่ยม หมู่บ้านท่องเที่ยวไหม เศรษฐกิจสร้างสรรค์ en_US
dc.title การสร้างลวดลายอัตลักษณ์กลุ่มชาติพันธุ์เขมรเพื่อพัฒนาเป็นสินค้าระดับพรีเมี่ยมของหมู่บ้าน ท่องเที่ยวไหม บ้านสนวนนอก อําเภอห้วยราช จังหวัดบุรีรัมย์ en_US
dc.title.alternative Creating Identity Fabric Patterns of Khmer Ethnic for Premium Product Development of Sanuan Nok Thai Silk Village, Huai Rat, Buriram en_US
dc.type Research en_US
dc.contributor.emailauthor chusak.yt@bru.ac.th en_US


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics