ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU

แนวทางการพัฒนาศักยภาพในการสร้างเอกลักษณ์สินค้าเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งอย่างยั่งยืนกลุ่มทอผ้าย้อมครามบ้านโพนก่อ ตำบลท่าก้อน อำเภออากาศอำนวย จังหวัดสกลนคร

Show simple item record

dc.contributor.author ketsripongsa, udompong
dc.contributor.author Butsalee, Pakamat
dc.contributor.author Utiram, Kaewmanee
dc.date.accessioned 2020-05-23T03:16:04Z
dc.date.available 2020-05-23T03:16:04Z
dc.date.issued 2019-10-28
dc.identifier.citation วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ฉบับมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ปี 14 ฉบับที่ 2 น. 46-56 ธ.ค. 2019. TCI กลุ่ม 2 en_US
dc.identifier.issn 19061641
dc.identifier.uri http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/6240
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research : PAR) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบริบทของกลุ่มทอผ้าย้อมครามบ้านโพนก่อ ศึกษาศักยภาพด้านการสร้างเอกลักษณ์สินค้าของกลุ่มทอผ้าย้อมครามบ้านโพนก่อ และศึกษาแนวทางการพัฒนาศักยภาพในสร้างเอกลักษณ์ของสินค้า เพื่อสร้างความเข้มแข็งของชุมชนอย่างยั่งยืนกลุ่มทอผ้าย้อมครามบ้านโพนก่อ ตำบลท่าก้อน อำเภออากาศอำนวย จังหวัดสกลนคร ซึ่งเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มวิสาหกิจชุมชนทอผ้าย้อมครามบ้านโพนก่อ หมู่ 6 ตำบลท่าก้อน อำเภออากาศอำนวย จังหวัดสกลนคร จำนวน 20 คน โดยกลุ่มตัวอย่างได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง เนื่องจากกลุ่มทอผ้าย้อมครามบ้านโพนก่อ หมู่ที่ 6 มีจำนวนสมาชิกทั้งหมด 20 คน และเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่ การสนทนากลุ่ม การสังเกต และการสัมภาษณ์ ผลการวิจัย พบว่า 1) บริบทของกลุ่มทอผ้าย้อมครามบ้านโพนก่อ พบว่า กลุ่มองค์กรในชุมชน มีจำนวน 15 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มฌาปนกิจสงเคราะห์ วัดส่งเสริมสุขภาพ กลุ่มเกษตรพอเพียงลดรายจ่าย เพิ่มรายได้เป็นแหล่งเรียนรู้การทำการเกษตรแบบพอเพียงฐานลดรายจ่ายเพิ่มรายได้ของชุมชน กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต กลุ่มกองทุนเงินล้าน กองทุนแก้ไขปัญหาความยากจน ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน (กศน.) กลุ่มกองทุนแม่ กลุ่มผลิตน้ำยาล้างจาน กลุ่มทอผ้าย้อมคราม กลุ่มสานตะกร้าจากเส้นพลาสติก กลุ่มปลูกมันสำปะหลัง กลุ่มปลูกยางพารา กลุ่มผลิตปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ (น้ำหมัก) และกลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) ชุมชนมีจัดการตนเองด้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ จำนวน 4 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มการจัดการขยะในชุมชน กลุ่มการจัดการเรื่องปัญหายาเสพติดภายในหมู่บ้าน กิจกรรมเข้าวัดทำวัตรเย็นร่วมกับพระสงฆ์ และกองทุนฌาปนกิจสงเคราะห์หมู่บ้าน และการสร้างและพัฒนานวัตกรรมของชุมชน จำนวน 6 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มผลิตน้ำยาล้างจาน กลุ่มผลิตปุ๋ยหมัก น้ำหมักชีวภาพ (น้ำหมักขี้หมู) กลุ่มเพาะเห็ด กลุ่มผลิตอาหารหมักหมู กลุ่มทอผ้าย้อมคราม และกลุ่มสานตะกร้าด้วยเส้นพลาสติก 2) ศักยภาพด้านการสร้างเอกลักษณ์สินค้าของกลุ่มทอผ้าย้อมครามบ้านโพนก่อ พบว่า กลุ่มทอผ้าย้อมครามเป็นแหล่งสร้างอาชีพให้กลุ่มเพิ่มรายได้ให้ครัวเรือน และชุมชน ซึ่งสามารถได้ ดังนี้ 2.1) การพัฒนาเอกลักษณ์สินค้าของกลุ่ม พบว่า กลุ่มมีความต้องการในการสร้างเอกลักษณ์สินค้าที่เป็นของกลุ่มเอง ซึ่งในการสร้างเอกลักษณ์จะต้องได้มาซึ่งการมีส่วนร่วมในการร่วมคิด ร่วมแสดงความคิดเห็น ร่วมปฏิบัติ และจะต้องเป็นเอกลักษณ์ที่ได้มาจากประวัติของหมู่บ้าน โดยในกระบวนการพัฒนาเอกลักษณ์ สมาชิกทุกคนได้ร่วมกันคิด และได้มีการเล่าถึงเรื่องราวความเป็นมาของหมู่บ้าน ว่าหมู่บ้านชื่อ “บ้านโพนก่อ” ดังนั้น เอกลักษณ์ที่จะนำมาทอเป็นลายผ้าจะต้องมีความสำคัญ และสอดคล้องกับชื่อหมู่บ้าน นอกจากการคิดค้นเพื่อหาเอกลักษณ์ของกลุ่มแล้ว สมาชิกยังมีการร่วมกันคิดค้นชื่อลายที่จะนำมาตั้งชื่อโดยให้ทุกคนเขียนชื่อลายที่จะนำมาใช้ในการเรียกลายผ้าที่จะนำมาทอเป็นเอกลักษณ์ของกลุ่ม โดยสมาชิกมีการสรุปชื่อลายผ้าได้ว่า “ลายหมากก่อ” ซึ่งหมากก่อจะได้มาจากชื่อหมู่บ้านคือ บ้านโพนก่อ และ 2.2) การพัฒนาศักยภาพให้กับสมาชิก พบว่า กลุ่มสมาชิกมีศักยภาพในการทอผ้าค่อนข้างสูง และสมาชิกมีการแปรรูปผ้าจากเดิมที่มีการทอผ้าพันคอ และผ้าคลุมไหล่ เป็นการทอผ้าเพื่อนำมาตัดเย็บเสื้อและกระโปรง เพื่อเป็นการเพิ่มมูลค่าและเพิ่มตลาดให้กับผลิตภัณฑ์ แต่ผ้าที่ทอนั้นส่วนใหญ่เป็นลายเดิม ๆ ที่ชุมชนทั่วไปก็มีการทอ ดังนั้น กลุ่มมีความคิดเห็นร่วมกันในการที่จะพัฒนาลายผ้าขึ้นมาใหม่ โดยจากการจัดเวทีในวันที่ 18 - 19 พฤษภาคม 2560 ส่งผลให้ชุมชนได้ร่วมกันคิดค้นลายผ้าที่มาจากประวัติของชุนชนได้แก่ “ลายหมากก่อ” โดยนักวิจัยได้ชุมชนได้ร่วมกันออกแบบ และให้สมาชิกกลุ่มทำการมัดหมี่ลายหมากก่อขึ้นมาเพื่อนำมาทอ และ 3) แนวทางการพัฒนาศักยภาพในสร้างเอกลักษณ์ของสินค้าเพื่อสร้างความเข้มแข็งของชุมชนอย่างยั่งยืนกลุ่มทอผ้าย้อมครามบ้านโพนก่อ พบว่า แนวทางในการพัฒนาศักยภาพชุมชน มีดังนี้ 3.1) การศึกษาบริบทของชุมชนที่จะนำมาสร้างเป็นเอกลักษณ์ 3.2) จัดเวทีเพื่อค้นหาความต้องการที่แท้จริงที่ได้จากกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน 3.3) การตัดสินใจเลือกรูปแบบที่จะนำสร้างเป็นเอกลักษณ์สินค้า 3.4) การนำรูปแบบที่เลือกไปสร้างเป็นโมเดลตัวอย่าง 3.5) การพัฒนาเอกลักษณ์ด้วยการนำโมเดลตัวอย่างที่ได้ไปทอลงในผืนผ้า และ 3.6) การขอจดทะเบียนสิทธิบัตรการออกแบบลายผ้า “ลายหมากก่อ” en_US
dc.language.iso th_TH en_US
dc.publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ en_US
dc.subject การพัฒนาศักยภาพชุมชน เอกลักษณ์สินค้า ความเข้มแข็งของชุมชน en_US
dc.title แนวทางการพัฒนาศักยภาพในการสร้างเอกลักษณ์สินค้าเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งอย่างยั่งยืนกลุ่มทอผ้าย้อมครามบ้านโพนก่อ ตำบลท่าก้อน อำเภออากาศอำนวย จังหวัดสกลนคร en_US
dc.title.alternative Guidelines for Developing the Capacity to Create Product Identity for Sustainable Strengthening of Indigo Dyed Cotton Weaving Group in Baan Phonkoe Thakon Sub-district, Akat Amnuai District, Sakon Nakon Province en_US
dc.type Article en_US
dc.contributor.emailauthor udompong.jo@gmail.com en_US
dc.contributor.emailauthor mon-noi@hotmail.com en_US
dc.contributor.emailauthor Kaewmanee_acc20@hotmail.com en_US


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics