ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU

รูปแบบการพัฒนาครูโดยใช้การจัดประสบการณ์แบบสะเต็มที่ส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยในศตวรรษที่ 21

Show simple item record

dc.contributor.author อาจารย์วิภารัตน์ อิ่มรัมย์
dc.contributor.author นิตยา บรรณประสิทธิ์
dc.contributor.author วิไลวรรณ ศิริเมฆา
dc.contributor.author วราลี โกศัย
dc.contributor.author ธนากร เทียมทัน
dc.contributor.author มัลลิกา เจริญพจน์
dc.date.accessioned 2021-03-16T15:36:07Z
dc.date.available 2021-03-16T15:36:07Z
dc.date.issued 2018-07-02
dc.identifier.citation วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ปีที่ 10 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม 2561 en_US
dc.identifier.uri http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/7327
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อสร้างรูปแบบการพัฒนาครูโดยใช้การจัดประสบการณ์แบบสะเต็มที่ส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยในศตวรรษที่ 21 2) เพื่อศึกษาผลการพัฒนาครูโดยใช้การจัดประสบการณ์แบบสะเต็มที่ส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยในศตวรรษที่ 21 3) เพื่อศึกษาผลการพัฒนาทักษะการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยในศตวรรษที่ 21โดยใช้การจัดประสบการณ์แบบสะเต็มการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ มี 3 ระยะ คือระยะที่ 1สร้างรูปแบบการพัฒนาครูปฐมวัยโดยใช้การจัดประสบการณ์แบบสะเต็มที่ส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยในศตวรรษที่ 21 กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ คือครูผู้สอนในชั้นปฐมวัย จำนวน 23 คนซึ่งมีประสบการณ์ระดับชั้นปฐมวัยในโรงเรียนประจำอำเภอ ทั้ง 23 อำเภอ ของจังหวัดบุรีรัมย์ครูผู้สอนในชั้นปฐมวัย นักวิชาการด้านการศึกษาปฐมวัย และผู้เชี่ยวชาญด้านหลักสูตรและการสอนจำนวน 15 คน ระยะที่ 2การพัฒนาครูโดยใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์แบบสะเต็มที่ส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยในศตวรรษที่ 21 กลุ่มเป้าหมาย คือ ครูผู้สอนในชั้นปฐมวัย จำนวน 20 คนระยะที่ 3 การพัฒนาทักษะการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยในศตวรรษที่ 21 โดยใช้การจัดประสบการณ์แบบสะเต็มกลุ่มเป้าหมาย คือ ครูผู้สอนในชั้นปฐมวัย จำนวน 20 คน และนักเรียน ชาย–หญิงห้องเรียนปฐมวัยที่ครูรับผิดชอบ จำนวน 20 ห้องเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถามแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ก่อนและหลังการอบรมพัฒนาของครูแบบสังเกตพฤติกรรมการแก้ปัญหาของเด็กปฐมวัยและแบบนิเทศ ติดตามและประเมินผลการพัฒนาครูระดับปฐมวัย ซึ่งข้อมูลสถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลการพัฒนารูปแบบการพัฒนาครูปฐมวัยโดยใช้การจัดประสบการณ์แบบสะเต็มที่ส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยในศตวรรษที่ 21 ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ ไดแก ความเป็นมาของรูปแบบ แนวคิดทฤษฎีพื้นฐาน หลักการของรูปแบบวัตถุประสงค์และการพัฒนาครูปฐมวัยโดยใช้การจัดประสบการณ์แบบสะเต็มที่ส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยในศตวรรษที่21ใน 4 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 ขั้นสร้างความเข้าใจ ขั้นตอนที่ 2 ขั้นเตรียมความพร้อม ขั้นตอนที่ 3 ขั้นการนำไปใช้ตามกระบวนการและขั้นตอนการจัดประสบการณ์แบบสะเต็ม ซึ่งประกอบไปด้วย 4 ขั้น (ขั้นที่ 1 ขั้นสร้างความสนใจ ขั้นที่ 2 ขั้นวางแผน ขั้นที่ 3 ขั้นการดำเนินกิจกรรม ขั้นที่ 4 ขั้นสรุปและประเมินผลกิจกรรม) และขั้นตอนที่ 4 ขั้นนิเทศติดตามและประเมินผล ซึ่งผลการประเมินความสอดคล้อง (IOC) ระหว่าง 0.67-1.00 2. ผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์แบบสะเต็มที่ส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยในศตวรรษที่ 21 พบว่าจากการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของครูที่เข้ารับการอบรมเชิงปฏิบัติการด้วยรูปแบบพัฒนาการครูปฐมวัย พบว่าครูที่เข้าอบรมมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3. ผลการพัฒนาทักษะการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยในศตวรรษที่ 21พบว่า ความสามารถในการแก้ปัญหาของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์แบบสะเต็ม ด้านการแก้ปัญหาของตนเองที่ไม่เกี่ยวข้องกับผู้อื่นสูงกว่าด้านการแก้ปัญหาของตนเองที่เกี่ยวข้องกับผู้อื่นและแก้ปัญหาของผู้อื่น en_US
dc.description.sponsorship สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ en_US
dc.language.iso th_TH en_US
dc.publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ en_US
dc.subject รูปแบบการพัฒนาครู ,การจัดประสบการณ์แบบสะเต็มสำหรับเด็กปฐมวัย, ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 en_US
dc.title รูปแบบการพัฒนาครูโดยใช้การจัดประสบการณ์แบบสะเต็มที่ส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยในศตวรรษที่ 21 en_US
dc.title.alternative Early Childhood Teacher Development Model Using STEM Education Experience Promote Early Childhood Learning Skills in the 21St Century en_US
dc.type Research en_US
dc.contributor.emailauthor wiparat.ir@bru.ac.th en_US


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics