ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU

แนวปฏิบัติที่ดีเรื่องการบูรณาการการจัดการเรียนการสอนกับการบริการวิชาการ การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม และการวิจัย

Show simple item record

dc.contributor.author คณะกรรมการจัดการความรู้
dc.date.accessioned 2021-08-24T23:55:09Z
dc.date.available 2021-08-24T23:55:09Z
dc.date.issued 2563-05-15
dc.identifier.uri http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/7723
dc.description.abstract แนวปฏิบัติการบูรณาการการจัดการเรียนการสอนกับการบริการวิชาการ การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม และการวิจัย การบูรณาการการจัดการเรียนการสอนกับการบริการวิชาการ การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม และการวิจัย คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน คือ ขั้นเตรียมการ ขั้นปฏิบัติ และขั้นสรุปและวิเคราะห์ผล ดังนี้ 1. ขั้นเตรียมการ 1.1 ด้านคณะ - ประชุมคัดเลือกรายวิชาภาคปฏิบัติที่เหมาะสม ตอบโจทย์มาตรฐานของคณะ - คัดเลือกโครงการบูรณาการบริการวิชาการที่คณะได้รับและมีการจัดสรรงบประมาณ เช่น โครงการยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏ - จัดสรรงบประมาณเพื่อบูรณาการ - กำหนดเป้าหมายร่วมกันในการบูรณาการการจัดการเรียนการสอนกับพันธกิจทั้ง 3 ด้านระหว่างคณะกับทีมผู้สอนในรายวิชาที่ได้รับการคัดเลือก 1.2 ด้านผู้สอน - ศึกษาหลักสูตรคำอธิบายรายวิชา ผลลัพธ์การเรียนของรายวิชา - กำหนดเนื้อหา และหัวข้อการสอน - กำหนดวัตถุประสงค์ตามเนื้อหา/ความรู้ของรายวิชาตามลักษณะของรายวิชาผ่านประสบการณ์ภาคสนามตามสภาพจริง และกำหนดคำถามที่กระตุ้นการคิดตามความเป็นจริง - เตรียมผู้ป่วยและชุมชนให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ และแนวคำถามที่ตั้งไว้ - เตรียมปฐมนิเทศผู้เรียน โดยทำความเข้าใจการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการ ขั้นตอนการวิจัย และเตรียมความรู้ที่เกี่ยวข้องต่างๆ พร้อมประเมินความพร้อมของผู้เรียน - เตรียมอุปกรณ์ และแหล่งศึกษาเพิ่มเติมแก่ผู้เรียน - เขียนโครงร่างวิจัยเพื่อเสนอพิจารณากรรมการจริยธรรม - ออกแบบการประเมินผล และเครื่องมือวิจัย 1.3 ด้านผู้เรียน - เตรียมความรู้ด้านเนื้อหาวิชาการ ทบทวนความรู้ภาคทฤษฎีเดิม - เข้ารับการเตรียมความพร้อมก่อนเรียนทักษะเพิ่มเติมที่จำเป็นในการเรียนแบบบูรณาการ 2. ขั้นปฏิบัติ - รายวิชากำหนดวัตถุประสงค์ หัวข้อการเรียนรู้หรือโจทย์ที่ต้องการวิจัย และบริการวิจัย - มอบหมายให้นักศึกษาศึกษาข้อมูลตามสภาพจริง นำข้อมูลที่ได้มาอภิปราย วิเคราะห์ จัดลำดับความสำคัญของปัญหาที่พบ คัดเลือกปัญหาที่ต้องการแก้ไขในภาพรวมของกลุ่มผู้ป่วยที่ต้องการศึกษา เพื่อจัดบริการวิชาการ - นำเสนอข้อมูล และวางแผนการพยาบาลโดยประยุกต์ความรู้ดั้งเดิมในการดูแลสุขภาพของผู้ป่วยร่วมด้วย จำนวน 3 ครั้ง - ผู้เรียนสะท้อนคิด และแลกเปลี่ยนการเรียนรู้ในกลุ่มร่วมกับอาจารย์ผู้สอน และปรับแผนการพยาบาล ซึ่งเป็นขั้นตอนการประเมินผลทัศนคติตามโจทย์ จำนวน 3 ครั้ง - ผู้เรียนถอดบทเรียนหลังการปฏิบัติร่วมกันในกลุ่มร่วมกับอาจารย์ ซึ่งเป็นขั้นตอนการประเมินผลทัศนคติตามโจทย์ - ผู้เรียนเข้าใจกระบวนการวิจัย การประยุกต์ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการดูแลสุขภาพ และการออกบริการวิชาการ 3. ขั้นสรุปและวิเคราะห์ผล - ทีมผู้สอนประเมินผลลัพธ์การเรียนรู้กับนักศึกษาในเนื้อหา และหัวข้อการสอนที่นำมาบูรณาการ - ทีมผู้สอนนำข้อเสนอแนะจากนักศึกษามาปรับปรุงขั้นตอนการดำเนินงาน และเนื้อหาที่สอนในรายวิชา - ทีมผู้สอนสรุปและวิเคราะห์ข้อมูลจากแบบสอบถาม และเครื่องมือวิจัย - ทีมผู้สอนจัดทำบทความวิจัยและส่งตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสาร en_US
dc.publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ en_US
dc.subject การจัดการความรู้ การบูรณาการการเรียนการสอน en_US
dc.title แนวปฏิบัติที่ดีเรื่องการบูรณาการการจัดการเรียนการสอนกับการบริการวิชาการ การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม และการวิจัย en_US
dc.type Article en_US
dc.contributor.emailauthor ratchanee.pp@bru.ac.th en_US


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics