ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU

การวิเคราะห์กลวิธีการแปลกวีนิพนธ์จากภาษาอีสานเป็นภาษาอังกฤษ: กรณีศึกษานิทานอีสานพื้นบ้านเรื่อง ผาแดงนางไอ่

Show simple item record

dc.contributor.advisor Akkarapon Nuemaihom en_US
dc.contributor.advisor Khampheeraphap Intanoo en_US
dc.contributor.author Phimphach, Warasiwaphong
dc.date.accessioned 2021-11-15T04:12:55Z
dc.date.available 2021-11-15T04:12:55Z
dc.date.issued 2564
dc.identifier.uri http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/7932
dc.description.abstract วัตถุประสงค์ของงานวิจัยในครั้งนี้คือวิเคราะห์หากลวิธีที่ใช้ในการแปลบทกวี รวมทั้งหา ค่าความถี่และร้อยละของแต่ละกลวิธีการแปลที่พบในกวีนิพนธ์นิทานอีสานพื้นบ้านเรื่อง ผาแดงนางไอ่ ซึ่งทำการแปลเป็นภาษาอังกฤษ กวีนิพนธ์เรื่องนี้ประกอบด้วยสองภาคภาษา คือ ภาคภาษาอีสานซึ่งประพันธ์โดย พระอริยานุวัตร (2525) และภาคภาษาอังกฤษซึ่งทำการแปลโดย วยุพา ทศศะ (2533) กลุ่มตัวอย่างจำนวนห้าบทของทั้งสองฉบับ ซึ่งได้มาจากการสุ่มอย่างเป็นระบบ ในงานวิจัยนี้ได้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณเพื่อคำนวณหาค่าความถี่และร้อยละของแต่ละกลวิธีการแปลที่พบในการวิจัย รวมทั้งการคำนวณหาค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่างข้อคำถามกับวัตถุประสงค์ ส่วนระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพเกี่ยวข้องกับกระบวนการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนาและการวิเคราะห์แบบตีความ ของการแปลทั้งสองภาษาได้นำมาทำการวิเคราะห์หากลวิธีการแปลที่ใช้ในบทประพันธ์โดยใช้กรอบทฤษฎีการแปลของ แลแฟเวีย (2535) ผลการวิจัยพบว่า ผู้แปลได้ใช้กลวิธีการแปลทั้ง 7 ประเภทดังนี้ คือ การแปลแบบถ่ายเสียง การแปลแบบตรงตัว การแปลโดยการถ่ายทอดจังหวะหนักเบาของคำ การแปลโดยรักษาความคล้องจอง การแปลบทกวีเป็นร้อยแก้ว การแปลเป็นกลอนเปล่า การแปลโดยการตีความ และผลการศึกษายังพบอีกว่ากลวิธีการแปลลำดับที่หก คือการแปลเป็นกลอนเปล่ามีความถี่ที่ใช้ในการแปลมากที่สุด (55.01%) ในขณะที่กลวิธีการแปลลำดับที่หนึ่งคือการแปลแบบถ่ายเสียงมีความถี่ที่ใช้ในการแปลน้อยที่สุด (1.95%) en_US
dc.description.abstract The purposes of this research were to investigate the translation strategies employed in translating the verse and to find out the frequency and percentage of the translation strategies in translating the Isan verse Phadaeng Nang Ai into English. The text composed of two versions: Isan version was written by Phra Ariyanuwat (1982) and English version was translated by Tossa (1990). The five chapters of both versions were selected via a systematic random sampling method. The quantitative method involved the calculation of frequency and percentage of each strategy found in the translation analysis and calculation of Inter-rater Reliability (IRR). The qualitative method concerned the analysis of descriptive data and interpretive analysis. The texts of the two versions were analyzed in order to find what the strategies were found in this verse translation under the theoretical framework of Lefevere (1992). The results revealed that all seven translation strategies were employed by the translator, i.e. phonemic translation, literal translation, metrical translation, rhymed translation, poetry in prose, blank verse, and interpretation. The findings also showed that the sixth strategy, blank verse translation, was most frequently used (55.01%) while the first strategy, phonemic translation, was least frequently used (1.95%). en_US
dc.language.iso th_TH en_US
dc.publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ en_US
dc.subject การวิเคราะห์กลวิธีการแปลกวีนิพนธ์จากภาษาอีสานเป็นภาษาอังกฤษ: กรณีศึกษานิทานอีสานพื้นบ้านเรื่อง ผาแดงนางไอ่ en_US
dc.title การวิเคราะห์กลวิธีการแปลกวีนิพนธ์จากภาษาอีสานเป็นภาษาอังกฤษ: กรณีศึกษานิทานอีสานพื้นบ้านเรื่อง ผาแดงนางไอ่ en_US
dc.title.alternative An Analysis of strategies in translating Isan verse into English: A Case study of Isan Folktale en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.discipline English en_US
dc.degree.level Master's Degree en_US
dc.degree.name Master of Arts en_US


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics