ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU

รายงานกิจกรรมส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัย การถ่ายทอดความรู้เทคนิคออกแบบโครงสีในผ้าไหมมัดหมี่ร่วมสมัยเพื่อเป็น สินค้าทางวัฒนธรรมสร้างสรรค์ จังหวัดบุรีรัมย์

Show simple item record

dc.contributor.author สมบัติ, ประจญศานต์
dc.date.accessioned 2023-05-20T03:32:10Z
dc.date.available 2023-05-20T03:32:10Z
dc.date.issued 2564-03-31
dc.identifier.uri http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/8600
dc.description.abstract จังหวัดบุรีรัมย์เป็นแหล่งที่มีภูมิปัญญาการปลูกหม่อนเลี้ยงไหม และผลิตเป็นผ้าไหมทอมือที่มีคุณภาพ แต่การพัฒนาสินค้าชุมชนประเภทผ้าไหมมัดหมี่ทอมือมีความจำเป็นเร่งด่วน เนื่องจากความต้องการที่หลากหลายของผู้บริโภคที่ตัดสินใจซื้อสินค้าจากลวดลาย สีสัน และเนื้อผ้า โครงการนี้จึงได้นำองค์ความรู้จากโครงการวิจัยการออกแบบโครงสีในผ้าไหมมัดหมี่ร่วมสมัย และโครงการวิจัยการพัฒนาสินค้าผ้าไหมมัดหมี่เพื่อการท่องเที่ยวจังหวัดบุรีรัมย์ : อิทธิพลของสีไหมเส้นยืนในงานผ้าไหมมัดหมี่ โดยมีวัตถุประสงค์ของโครงการเพื่อ 1) จัดทำคู่มือและอบรมขยายผลถ่ายทอดความรู้การออกแบบโครงสีในงานผ้าไหมมัดหมี่ร่วมสมัยสู่กลุ่มอาชีพในชุมชน 2) ผลิตผ้าไหมมัดหมี่ทอมือตามเทคนิคที่ได้รับการถ่ายทอด เป็นสินค้าและทดสอบการยอมรับผลิตภัณฑ์เมื่อแรกเห็นจากกลุ่มผู้บริโภค และ 3) เพื่อสรุปบทเรียนของการดำเนินการถ่ายทอดความรู้ โดยมีกลุ่มเป้าหมายจำนวน 15 คนจาก 3 หมู่บ้าน และกลุ่มขยายผล จำนวน 15 คนจาก 3 หมู่บ้าน ดำเนินกิจกรรมสังเคราะห์ผลจากงานวิจัยโดยจัดทำเป็นคู่มือการออกแบบแล้วจัดอบรมเชิงปฏิบัติการการออกแบบโครงสี นำองค์ความรู้จากการอบรมไปสู่การปฏิบัติผลิตเป็นผืนผ้าไหมมัดหมี่ทอมือ นำผลิตภัณฑ์ต้นแบบไปทดสอบการยอมรับเมื่อแรกเห็นของกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 100 คน จัดเวทีสรุปบทเรียนและจัดประชุมถ่ายทอดความรู้ขยายผลไปยังกลุ่มขยายผล และมีการติดตามการนำองค์ความรู้ไปใช้ประโยชน์จริง ผลการดำเนินโครงการทำให้ได้ผลผลิตเป็น 1. คู่มือการออกแบบโครงสีในงานไหมมัดหมี่ จำนวน 1,000 เล่ม 2. ต้นแบบผ้าไหมมัดหมี่ลายใหม่ จำนวน 24 ผืน หลังการดำเนินโครงการมีข้อเสนอแนะว่า การส่งเสริมพัฒนาผลิตภัณฑ์ของกลุ่มผู้ผลิตควรจำแนกกลุ่มผู้ผลิตตามศักยภาพเพราะแต่ละกลุ่มศักยภาพต้องการการสนับสนุนในประเด็นที่แตกต่างกัน โดยกลุ่มที่มีศักยภาพค่อนข้างสูงมีความจำเป็นในการสนับสนุนองค์ความรู้ด้านการตลาด เช่น การพัฒนาบรรจุภัณฑ์ การสร้างแบรนด์ แหล่งจำหน่าย ตลาดออนไลน์ เพื่อเป็นการพัฒนาสู่สินค้าทางวัฒนธรรมมูลค่าสูงต่อไป กลุ่มที่มีศักยภาพปานกลาง ต้องเน้นการติดตามการรักษาคุณภาพมาตรฐานของผลิตภัณฑ์ และสนับสนุนด้านการตลาดและกลุ่มที่มีศักยภาพค่อนข้างน้อยยังคงต้องเน้นการพัฒนากระบวนการผลิตให้สินค้าได้มาตรฐาน โดยมีเป้าหมายเป็นมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.) และควรเร่งหาแนวทางในการพัฒนาการตลาดมูลค่าสูงเพื่อจูงใจคนรุ่นใหม่เข้าสู่การสืบสานและพัฒนาภูมิปัญญาผ้ามัดหมี่ทอมือต่อไป en_US
dc.language.iso th_TH en_US
dc.publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ en_US
dc.subject ผ้าทอมือ en_US
dc.subject Textiles en_US
dc.subject ออกแบบ en_US
dc.subject Design en_US
dc.subject มัดหมี่ en_US
dc.subject Mudmee en_US
dc.title รายงานกิจกรรมส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัย การถ่ายทอดความรู้เทคนิคออกแบบโครงสีในผ้าไหมมัดหมี่ร่วมสมัยเพื่อเป็น สินค้าทางวัฒนธรรมสร้างสรรค์ จังหวัดบุรีรัมย์ en_US
dc.type Research en_US
dc.contributor.emailauthor sombat.pj@bru.ac.th en_US


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics