ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU

กระบวนการกระจายสินค้าด้วยรถพุ่มพวงสู่การยกระดับรายได้ครัวเรือนยากจน ตำบลสะแกโพรง อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์

Show simple item record

dc.contributor.author เพียรจัด, สรรเพชร
dc.contributor.author สิมสวย, เชาวลิต
dc.contributor.author เกษศรีพงษา, อุดมพงษ์
dc.contributor.author ปัญญายงค์, วิษณุ
dc.date.accessioned 2024-03-29T13:09:54Z
dc.date.available 2024-03-29T13:09:54Z
dc.date.issued 2566-07
dc.identifier.citation วารสารวิชาการรับใช้สังคม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ปีที่ 7 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม-ธันวาคม) 2566. en_US
dc.identifier.isbn 2651-0723
dc.identifier.issn 2586-8268
dc.identifier.uri http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/8812
dc.description.abstract การบูรณาการความร่วมมือแก้ไขปัญหาความยากจนด้วยปรากฏการณ์รถพุ่มพวง ถือว่ารูปแบบการกระจายสินค้าที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติในตำบลสะแกโพรง อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ เป็นกลไกการแก้ไขปัญหาด้านการลดความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงทรัพยากรด้วยตัวของชุมชนเอง ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนสินค้าภายในชุมชน เกิดหมุนเวียนทางการเงิน การหมุนเวียนของทรัพยากรท้องถิ่น และที่สำคัญเป็นกลไกที่ก่อให้เกิดมูลค่าเพิ่มของสินค้าในชุมชนได้อย่างเป็นธรรมชาติ จากกลไกดังกล่าวก่อให้เกิดการยกระดับคุณภาพชีวิตของครัวเรือนยากจนในอำเภอเมืองจังหวัดบุรีรัมย์ให้ดีขึ้น โดยอาศัยห่วงโซ่คุณค่าและกลไกการขับเคลื่อนของกลุ่มผู้ประกอบการรถพุ่มพวงที่มีอยู่เป็นต้นทุนสำคัญในการขับเคลื่อน โดยมีวัตถุประสงค์คือ 1.เก็บข้อมูลห่วงโซ่มูลค่ากระบวนการกระจายสินค้าโดยรถพุ่มพวง 2.การสังเคราะห์ข้อมูลเพื่อหาช่องว่างและเติมเต็มกระบวนการกระจายสินค้าโดยรถพุ่มพวง 3.วางระบบปฏิบัติการยกระดับรายได้ครัวเรือนยากจน ด้วยวิธีการดำเนินงานใน 3 กิจกรรมสำคัญคือ 1.การจัดตั้งศูนย์กระจายสินค้าชุมชน (Community Distribution Centre) 2.การพัฒนา Application PoomPong 3.การจัดทำระบบสวัสดิการให้แก่รถพุ่มพวง ผลการดำเนินงานพบว่า 1.ศูนย์กระจายสินค้าชุมชน (Community Distribution Centre) โดยศูนย์ดังกล่าวมีบทบาทหน้าที่ไปรวบรวมสินค้าตาม Order นำมาคัดแยกใส่บรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสม แล้วนำขึ้นรถพุ่มพวงที่จะกระจายตัวออกไปในแต่ละเส้นทาง ส่งผลให้เกิดการย้ายถิ่นฐานไปทำงานที่อื่นลดลง เกิดแหล่งงานที่มั่นคงในพื้นที่ใกล้บ้าน และเกิดความรักความอบอุ่นในครอบครัว 2.Application PoomPong ทำให้ผู้ประกอบการรถพุ่มพวงมีรายได้เพิ่มขึ้น จากการมีลูกค้ากลุ่มใหม่หรือกลุ่มวัยรุ่นและวัยทำงานที่ใช้ Application ในการ Order สินค้า จากเดิมที่มีลักษณะการใช้เงินสดแลกสินค้าแบบ Face to Face ซึ่งทำให้มีรายได้จากลูกค้ากลุ่มสูงอายุในเส้นทาง (Roots) ที่เร่ขายเป็นส่วนใหญ่ 3. ระบบสวัสดิการให้แก่รถพุ่มพวง เป็นการจูงใจให้รถพุ่มพวงเข้ามาร่วมดำเนินมากขึ้นจากเดิม 16 คันเพิ่มขึ้นเป็น 46 คัน จึงก่อให้เกิดการกระจายสินค้าไปยังพื้นที่อื่นได้ในปริมาณที่มากขึ้นตามมา ผลจากการดำเนินงานสามารถยกระดับรายได้ครัวเรือนยากจนจากจำนวน 24 ครัวเรือนเพิ่มขึ้นเป็น 142 ครัวเรือนให้มีรายได้เพิ่มขึ้นและต่อเนื่องเฉลี่ย 14,600 บาทต่อเดือน ซึ่งถือว่ามีความเป็นไปได้ที่จะก่อให้เกิดความมั่นคงมั่งคั่งต่อไปได้ และถ้าหากมีการลงทุนขยายผลการดำเนินงานไปยังพื้นที่อื่นในบริบทที่ใกล้เคียงกัน ก็จะส่งผลให้ครัวเรือนยากจนในพื้นที่ลดน้อยลงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นผลมาจากมีรายได้เพิ่มขึ้นจากการดำเนินกิจกรรมในเบื้องต้น บทความฉบับเต็ม : https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JsesRMUTL/article/view/3126 en_US
dc.language.iso th_TH en_US
dc.publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ en_US
dc.title กระบวนการกระจายสินค้าด้วยรถพุ่มพวงสู่การยกระดับรายได้ครัวเรือนยากจน ตำบลสะแกโพรง อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ en_US
dc.type Article en_US


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics