ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU

ศึกษาผลของการใช้น้าหมักชีวภาพจากหอยเชอรี่ ใบสาบเสือ กากกาแฟ ที่มีผลต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพผลผลิตของดาวเรืองในกระถางปลูก

Show simple item record

dc.contributor.advisor อาจารย์เลิศภูมิ จันทรเพ็ญกุล en_US
dc.contributor.author เรืองรัมย์, กัญญาลักษณ์
dc.contributor.author พิมพ์จันทร์, วิไลวรรณ
dc.contributor.author chanpenkun, lertpoom
dc.date.accessioned 2017-11-02T05:59:12Z
dc.date.available 2017-11-02T05:59:12Z
dc.date.issued 2559
dc.identifier.uri http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/3105
dc.description วท.บ. วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเกษตรศาสตร์ คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ,2559 en_US
dc.description.abstract ศึกษาผลของการใช้น้ำหมักชีวภาพจากกอยเชอรี่ ใบสาบเสือ และกากกาแฟ ที่มีผลต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพผลผลิตของดาวเรืองในกระถางปลูกดำเนินงานวางแผนการทดลองที่มีแผนแบบสุ่มอย่างสมบูรณ์ (Completely Randomized Design:CRD) ประกอบด้วย 4 กรรมวิธีการทดลอง จำนวน 4 ซ้ำ ได้แก่ T1 ไม่ใส่ปุ๋ยหมัก T2 น้ำหมักจากหอยเชอรี่ T3น้ำหมักจากใบสาบเสือ และT4น้ำหมักจากกากกาแฟ ดำเนินการทดลองระหว่างวันที่ 7 กันยายน 2559 ถึงวันที่ 17 พฤศจิกายน 2559 ณบ้านพักอาจารย์อารยา มุสิกา มหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์ ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ จากการวิเคราะห์การแปรปรวนและเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยในด้านของความสูง,ความกว้างใบ,ความยาวแขนง,จำนวนกิ่งแขนง,น้ำหนักสดของดอก,น้ำหนักแห้งของดอก พบว่าผลของการทดลองด้านการเจริญเติบโต ด้านความสูงของต้นดาวเรือง และด้านความยาวกิ่งแขนงที่อายุ 39 วัน มีความแตกต่างทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญ (p<0.01) ที่ช่วงอายุ 53 วัน มีความแตกต่างทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญ (p<0.05) ในด้านของความสูงต้นและด้านความยาวกิ่งแขนง ส่วนช่วงวันที่ 46มีความแตกต่างทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญ(p<0.05) และ 60 วัน ไม่มีความแตกต่างทางสถิติ (p>0.05) ด้านของความกว้างใบค่าเฉลี่ยที่มีค่ามากที่สุด คือ T2 (น้ำหมักหอยเชอรี่)18.39 เซนติเมตร รองลงมาเป็น T3 (น้ำหมักใบสาบเสือ) 18.06 เซนติเมตร T4 (น้ำหมักกากกาแฟ)16.96 เซนติเมตร และ T1 (ไม่ใส่น้ำหมัก)มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด 8.97 เซนติเมตรและอายุวันที่ 39,53และ 60 วันไม่มีค่าของความแตกต่างทางสถิติ (p>0.05) ด้านของความยาวกิ่งแขนงต้นที่ และอายุที่ 46 และ 60 วัน ไม่มีความแตกต่างทางสถิติ (p>0.05) ค่าเฉลี่ยที่มีค่ามากที่สุด คือ T2 (น้ำหมักหอยเชอรี่) 16.47 เซนติเมตร รองลงมาเป็น T3 (น้ำหมักใบสาบเสือ) 15.15เซนติเมตร T4 (น้ำหมักกากกาแฟ) 13.36 เซนติเมตร และ T1 (ไม่ใส่น้ำหมัก)มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด 9.64 เซนติเมตรจำนวนของกิ่ง ต้นที่ 53 วัน ไม่มีค่าของความแตกต่างทางสถิติ(p>0.05) และต้นที่ 39,46,60 วัน มีค่าของความแตกต่างทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญ (p<0.05) ค่าเฉลี่ยที่มีค่ามากที่สุด คือ T3 (น้ำหมักใบสาบเสือ) 8.75 รองลงมาเป็น T4 (น้ำหมักกากกาแฟ)8.42 T2 (น้ำหมักหอยเชอรี่)8.00 และ T1 (ไม่ใส่น้ำหมัก)มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด7.00ส่วนด้านคุณภาพของผลผลิตด้านน้ำหนักดอกสด ที่อายุ 46 และ 60 วันไม่มีค่าของความแตกต่างทางสถิติ (p>0.05) แต่มีแนวโน้มว่า ค่าเฉลี่ยด้านน้ำหนักดอกสดที่มีค่ามากที่สุด คือ T2 (น้ำหมักหอยเชอรี่) 11.54 รองลงมาเป็น T4 (น้ำหมักกากกาแฟ) 10.99 กรัมT1 (ไม่ใส่น้ำหมัก) 10.78 กรัม และ T3 (น้ำหมักใบสาบเสือ)มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด9.56 กรัม ส่วนด้านน้ำหนักของดอกแห้งที่ได้นำดอกดาวเรืองไปอบแห้งโดยใช้ตู้ Hot Air Oven ใช้อุณหภูมิในการอบที่ 60 องศาเซลเซียส เป็นระยะเวลา 24 ชั่วโมงหลังจากนั้นนำมาชั่งน้ำหนักหาค่าDry Meterพบว่าดอกดาวเรืองที่อายุ 46 และ 60 วันไม่มีค่าของความแตกต่างทางสถิติ (p>0.05) มีแนวโน้มว่า ค่าเฉลี่ยน้ำหนักของดอกแห้งที่มีค่ามากที่สุด คือ T2 (น้ำหมักหอยเชอรี่) 1.06 กรัม รองลงมาเป็น T4 (น้ำหมักกากกาแฟ) 0.98 กรัมT1 (ไม่ใส่น้ำหมัก) 0.96 และ T3 (น้ำหมักใบสาบเสือ)มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด 0.87 จึงสรุปได้ว่า การใช้น้ำหมักชีวภาพจากหอยเชอรี่ มีผลในด้านการเพิ่มประสิทธิภาพการเจริญเติบโตและคุณภาพของผลผลิตดอกดาวเรืองที่ปลูกในกระถางได้ดีที่สุด en_US
dc.description.sponsorship Buriram Rajabhat University en_US
dc.language.iso th_TH en_US
dc.publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ en_US
dc.subject ต้นดาวเรือง, ปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพจากหอยเชอรี่, ปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพจากใบสาบเสือ, ปุ๋ยน้ำหมัก ชีวภาพจากกากกาแฟ,The seed,fertilizer, bio- fermentation of apple snail, water, manure, compost, biological leaves Bitter bush, bio-fertilizer from coffee grounds en_US
dc.title ศึกษาผลของการใช้น้าหมักชีวภาพจากหอยเชอรี่ ใบสาบเสือ กากกาแฟ ที่มีผลต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพผลผลิตของดาวเรืองในกระถางปลูก en_US
dc.title.alternative Effects of the use of bio-fermentation from Tokaj Bitter bush cherry leaves, coffee grounds to affect. Productivity growth and quality of marigold grown in pots en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.discipline เกษตรศาสตร์ คณะเทคโนโลยีการเกษตร en_US
dc.degree.level ปริญญาตรี en_US
dc.degree.name วิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.) en_US
dc.contributor.emailauthor lertpoom.c@gmail.com en_US


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics