ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU

การออกแบบลวดลายผลิตภัณฑ์ด้วยเทคนิค Marbling Art

Show simple item record

dc.contributor.advisor อาจารย์ผจงจิต เหมพนม en_US
dc.contributor.author พฤกษา, สมนึกตน
dc.contributor.author สุนิษา, วันศุกร์
dc.contributor.author ผจงจิต, เหมพนม
dc.date.accessioned 2020-09-14T05:34:45Z
dc.date.available 2020-09-14T05:34:45Z
dc.date.issued 2563-09-14
dc.identifier.uri http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/7020
dc.description.abstract ชื่อเรื่องการศึกษา การออกแบบลวดลายผลิตภัณฑ์ด้วยเทคนิค Marbling Art ชื่อผู้วิจัย พฤกษา สมนึกตน สุนิษา วันศุกร์ คณะ วิทยาศาสตร์ สาขาวิชา วิทยาศาสตร์สิ่งทอ ปีการศึกษา 2562 อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์ผจงจิต เหมพนม การออกแบบลวดลายผลิตภัณฑ์ด้วยเทคนิค Marbling Art มีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบลวดลาย ผลิตภัณฑ์ด้วยเทคนิค Marbling Art และศึกษาความพึงพอใจของผู้บริโภคต่อการออกแบบลวดลายผลิตภัณฑ์ ด้วย Marbling Art ในด้านความเหมาะสมของลวดลายและสี ด้านลวดลายมีความทันสมัยและแปลกใหม่ ด้าน ความเหมาะสมในการทำเป็นผลิตภัณฑ์ และด้านความพึงพอใจโดยรวม การวิจัยครั้งนี้ใช้วิธีการสุ่มแบบอย่าง ง่าย เฉพาะกลุ่มตัวอย่างที่สนใจการออกแบบลวดลายผลิตภัณฑ์ด้วยเทคนิค Marbling Art ตัวอย่างที่ตั้งแสดง ไว้ที่ ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ จำนวน 150 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามความพึงพอใจ และผลิตภัณฑ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ หาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานของความ พึงพอใจที่มีต่อการออกแบบลวดลายผลิตภัณฑ์ด้วยเทคนิค Marbling Art ผลการศึกษา พบว่า การออกแบบลวดลายผลิตภัณฑ์ด้วยเทคนิค Marbling Art มี 6 ลวดลาย ได้แก่ 1) ลายพีโอนี่ 2) ลายวอเตอร์โฟลว์ 3) ลายวูดอินพาราไดซ์ 4) ลายฮาทเวคเตอร์ 5) ลายอิบิสคัส และ 6) ลาย ดาห์เลีย ผ้าที่ใช้ คือ ผ้าฝ้าย และผ้าโทเร ผลิตภัณฑ์ที่ใช้ ได้แก่ 1) หมวกแก๊ป 2) รองเท้าผ้าใบ 3) กระเป๋า เครื่องสำอาง 4) เสื้อกั๊ก 5) ผ้าคลุมไหล่ 6) กางเกงยีนส์ลำลอง 7) เสื้อยืด โดยผู้ประเมินความพึงพอใจการ ออกแบบลวดลายผลิตภัณฑ์ด้วยเทคนิค Marbling Art จำนวน 150 คน ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงร้อยละ 58.66 ช่วงอายุมากที่สุดจะอยู่ในช่วงอายุ 20-25 ปี คิดเป็นร้อยละ 77.33 และมีสถานะเป็นนักศึกษาร้อยละ 90 ผลการศึกษาความพึงพอใจของผู้บริโภคที่ต่อการออกแบบผลิตภัณฑ์ด้วยเทคนิค Marbling Art พบว่า ความพึงพอใจโดยเฉลี่ยของการออกแบบลวดลายผลิตภัณฑ์ด้วยเทคนิค Marbling Art ผู้บริโภคกลุ่มตัวอย่างมี ความพึงพอใจต่อลายพีโอนี่ ค่าเฉลี่ย 4.15 อยู่ในระดับ ดี ลายวอเตอร์โฟลว์ ค่าเฉลี่ย 4.16 อยู่ในระดับ ดี ลาย วูดอินพาราไดซ์ ค่าเฉลี่ย 4.18 อยู่ในระดับ ดี ลายฮาทเวคเตอร์ ค่าเฉลี่ย 4.18 อยู่ในระดับ ดี ลายฮิบิสคัส ค่าเฉลี่ย 4.2 อยู่ในระดับ ดีและลายดาห์เลีย ค่าเฉลี่ย 4.16 อยู่ในระดับ ดี โดยลายฮิบิสคัส มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุดคือ 4.2 และลายวอเตอร์โฟลว์มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือ 4.15 สรุป ลายฮิบิสคัส คือลายที่มีความพึงพอใจโดยเฉลี่ยสูงที่สุด เพราะมีความเหมาะสมของลวดลายและ สี ลวดลายมีความทันสมัย แปลกใหม่ ลวดลายมีความเหมาะสมในการนำไปทำเป็นผลิตภัณฑ์ และลายวอเตอร์ โฟลว์มีความพึงพอใจโดยเฉลี่ยต่ำที่สุด เพราะไม่มีความเหมาะสมของลวดลายและสี ลวดลายไม่มีความทันสมัย แปลกใหม่ และลวดลายไม่มีความเหมาะสมในการนำไปทำเป็นผลิตภัณฑ์ en_US
dc.publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ en_US
dc.subject การออกแบบ Marbling Arts en_US
dc.title การออกแบบลวดลายผลิตภัณฑ์ด้วยเทคนิค Marbling Art en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.discipline วิทยาศาสตร์สิ่งทอ en_US
dc.degree.level ปริญญาตรี en_US
dc.degree.name วิทยาศาสตรบัณฑิต en_US
dc.contributor.emailauthor phajongjit.hp@bru.ac.th en_US


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics