ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU

การย้อมเส้นใยเตยหนามด้วยสีธรรมชาติจากเปลือกประดู่ เปลือกสีเสียดและใบสัก

Show simple item record

dc.contributor.advisor อาจารย์ผจงจิต เหมพนม en_US
dc.contributor.author ปภานันท์, สิงห์ประโคน
dc.date.accessioned 2020-09-14T07:04:38Z
dc.date.available 2020-09-14T07:04:38Z
dc.date.issued 2563-09-14
dc.identifier.uri http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/7025
dc.description.abstract บทคัดย่อ วัตถุประสงค์เพื่อศึกษางานวิจัยนี้การย้อมเส้นใยเตยหนามโดยใช้สีย้อมธรรมชาติจากเปลือกประดู่ เปลือกสีเสียด และใบสัก ใช้สารส้มเป็นสารช่วยติด ใช้เส้นใยเตยหนามที่ผ่านการฟอกขาวแล้วในปริมาณ 2 กรัม น้ำย้อมความเข้มข้นที่ร้อยละ 0-100 โดยใช้เครื่องย้อมอินฟาเรดที่อุณหภูมิ 90 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 30 นาที แล้วนำมาแช่สารส้มความเข้มข้น 5 กรัมต่อลิตร ที่อุณหภูมิห้อง เป็นเวลา 5 นาที จากนั้นนำไปล้างน้ำให้สะอาด แล้วน้ำไปตากให้แห้ง จากนั้นนำไปทดสอบหาค่าความเข้มของสี (L, a, b) ด้วยเครื่องสเปกโตรโฟโตมิเตอร์ จากการทดลองย้อมเส้นใยเตยหนามด้วยสีธรรมชาติจากเปลือกประดู่ พบว่าเส้นใยเตยหนามที่ย้อมด้วยสีธรรมชาติจากเปลือกประดู่ด้วยสภาวะการย้อมที่อุณหภูมิ 90 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 30 นาที ความเข้มข้นของสีย้อมที่ 40% เส้นใยเตยหนามจะมีค่าความสว่างน้อยที่สุด มีค่าเท่ากับ 30.2 คือมีสีเข้มที่สุด โดยให้เฉดสีแดง เส้นใยเตยหนามที่ย้อมด้วยสีธรรมชาติจากเปลือกสีเสียดด้วยสภาวะการย้อมที่อุณหภูมิ 90 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 30 นาที ความเข้มข้นของสีย้อมที่ 50% เส้นใยเตยหนามจะมีค่าความสว่างน้อยที่สุด มีค่าเท่ากับ 35.75 คือมีสีเข้มที่สุด โดยให้เฉดสีน้ำตาลแดง เส้นใยเตยหนามที่ย้อมด้วยสีธรรมชาติจากใบสักด้วยสภาวะการย้อมที่อุณหภูมิ 90 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 30 นาที ความเข้มข้นของสีย้อมที่ 80% เส้นใยเตยหนามจะมีค่าความสว่างน้อยที่สุด มีค่าเท่ากับ 34.53 คือมีสีเข้มที่สุด โดยให้เฉดสีน้ำตาล en_US
dc.publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ en_US
dc.title การย้อมเส้นใยเตยหนามด้วยสีธรรมชาติจากเปลือกประดู่ เปลือกสีเสียดและใบสัก en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.discipline วิทยาศาสตร์สิ่งทอ en_US
dc.degree.level ปริญญาตรี en_US
dc.degree.name วิทยาศาสตรบัณฑิต en_US
dc.contributor.emailauthor phajongjit.hp@bru.ac.th en_US


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics